วัตถุประสงค์
วิทยาลัยสารพัดช่างสงขลา มีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาด้านวิชาชีพ ดังนี้
- เพื่อมุ่งให้ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถออกไปประกอบอาชีพได้ ทั้งในภาครัฐบาลและเอกชน มีความเชื่อมั่นตนเองในวิชาชีพ สามารถสร้างงานเพื่อประกอบอาชีพอิสระได้ และมีพื้นฐานความรู้เพียงพอสำหรับการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
- เพื่อเป็นแหล่งในการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ให้กับนักเรียนและบุคคลทั่วไปเพื่อนำไปประกอบอาชีพ
- เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ และความเป็นอยู่ของชุมชนในท้องถิ่นให้ดีขึ้น โดยเปิดสอนหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น สาขาต่างๆ อย่างกว้างขวาง
- เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เพิ่มประสบการณ์ และทักษะด้านวิชาชีพตลอดจนปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติที่ดีในวิชาชีพชีพของผู้เรียน
- ส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ต่างระดับการศึกษาต่างระดับฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ได้มีโอกาสใช้ชีวิตในการศึกษาได้เข้าเรียนวิชาชีพในวิทยาลัยร่วมกัน และเสมอภาคกัน ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจและสัมพันธ์อันดีต่อกัน
วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา
“มุ่งผลิตและพัฒนากาลังคน สู่ความเป็นเลิศด้านวิชาชีพ ภายใต้การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
พันธกิจของสถานศึกษา
1. จัดการอาชีวศึกษาวิชาชีพให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน
2. ส่งเสริมและพัฒนาด้านนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ งานวิจัย โครงงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีหุ่นยนต์ และการเป็นผู้ประกอบการ
3. ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา
4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการยกระดับคุณภาพการศึกษา
5. บริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
วิทยาลัยสารพัดช่างสงขลาได้กำหนดปรัชญาในการจัดการศึกษาไว้คือ
“ศึกษาวิชาชีพ เป็นประทีปส่องทาง สรรค์สร้างคุณธรรม”
ศึกษาวิชาชีพ เป็นการจัดการศึกษาวิชาชีพที่หลากหลายทั้งในระบบ นอกระบบ และระบบเทียบโอนความรู้และประสบการณ์
เป็นประทีปส่องทาง เป็นการนำความรู้จากการศึกษาไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ หรือศึกษาต่อ
สรรค์สร้างคุณธรรม ปลูกฝังคุณธรรมของผู้เรียนให้เป็นผู้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
อัตลักษณ์
“เป็นคนดี มีฝีมือ พอเพียง เลี้ยงชีพได้”
เป็นคนดี หมายถึง มีคุณธรรม จริยธรรม มีความตั้งใจจริงในการปฏิบัติงาน มีความเป็นประชาธิปไตย มีจิตอาสาให้บริการสังคม มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบ และไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
มีฝีมือ หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ ทักษะตามสมรรถนะวิชาชีพ เป็นที่ยอมรับของสถานประกอบการและชุมชน หรือองค์กรภายนอก
พอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
เลี้ยงชีพได้ หมายถึง ประคับประคองให้ทรงตัวอยู่ได้
เอกลักษณ์
“บริการวิชาชีพ สู่ชุมชน”